Tuesday, March 27, 2012

ผ่าไส้ขนมไหว้พระจันทร์ หลายเรื่องราวที่ไม่เคยเปิดเผย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2552 17:35 น.
       ปีนี้เทศกาลไหว้พระจันทร์ตรงกับวันอังคารที่ 18 กันยายน แต่ตลาดขนมเปี๊ยะกลับเริ่มโหมโรงคึกคักกันมาตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมาแล้ว เสน่ห์ของขนมชิ้นเล็ก ๆ นี้ไม่เพียงแต่ความหวานอร่อยในรสชาติเท่านั้น แต่กลับเป็นตำนานขนมที่เดินทางมานานกว่า 600 ปีซึ่งไม่ธรรมดาเช่นกัน เพราะกว่าจะมาเป็นแป้งห่อด้วยไส้สวยงามเช่นนี้มีเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์บอก เล่าได้อย่างสนุกสนาน ถ้าอยากรู้ต้องลองไปผ่าไส้ขนมกันดู……
      
       “ขนมไหว้พระจันทร์” มีความหมายถึงความพรั่งพร้อม ความสมบูรณ์ และความสมหวัง ขนมก้อนเล็ก ๆ ชิ้นนี้มีกำเนิดที่ประเทศจีนเมื่อ 600ปีมาแล้ว แต่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่เมืองไทยเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ในยุคที่เยาวราชเฟื่องฟูและเป็นแหล่งอาหารการกินอันลือชื่อที่สุดของ เมืองกรุง ตอนนั้นมี 5 เสือภัตตาคารที่ขายอาหารจีนเลิศรสที่บรรดาเศรษฐีเชื้อสายจีนในเมืองไทยจะ ต้องแวะเวียนไปชิมอยู่เป็นประจำคือ กก จีเหลาหรือสากลภัตตาคาร , ห้อยเทียนเหลาหรือภัตตาคารหยาดฟ้า , ไล้กี่ภัตตาคาร , ภัตตาคารเยาวยื่น และภัตตาคารซาเยี๊ยะ
       อนันต์ อธินันต์พันธุ์ ทายาท "กก จีเหลา" ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น”กอกใจ” ) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่เปิดตำนานขนมไหว้พระจันทร์ของเมืองไทยเล่าว่าเมื่อ เกือบ 70 ปีที่ผ่านมาภัตตาคารจีนเกือบทุกแห่งในเวลานั้นต่างก็เริ่มทำขนมไหว้พระ จันทร์ขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกันเพราะแต่ละที่จะมีกุ๊กเป็นชาวฮ่องกงประจำทั้ง นั้น
       สำหรับทางภัตตาคารกกจีเหลานั้นได้เชิญอาจารย์โหลวอึ่ง ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านขนมไหว้พระจันทร์มาเมืองไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 “เฮียฮ้อ” ซึ่งเป็นเถาชิ้วเก่าแก่ของกกจีเหลาเล่าว่า
       “ ผมจำได้ว่าตอนอาจารย์โหลวมาเมืองไทยเพื่อทำขนมนั้นเมืองไทยยังมีโรงฝิ่นอยู่ เลย พออาจารย์นวดแป้งขนมเสร็จเรียบร้อยก็จะต้องแวะไปสูบฝิ่นก่อน พวกเราก็ต้องนั่งเฝ้าแป้งจนกว่าอาจารย์จะสูบฝิ่นเสร็จค่อยกลับมาทำขนมได้”
      
       **กำเนิดขนมไส้ทุเรียน**
       
สมัยก่อนถ้าอยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องอด ใจรอให้ถึงช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์เสียก่อนเพราะปีหนึ่งจะทำขายกันเพียง ครั้งเดียวเท่านั้น บรรดาชาวไทยเชื้อสายจีนจะเดินทางมาซื้อขนมไหว้พระจันทร์ที่ย่านเยาวราชเพราะ ถือเป็นแหล่งขายขนมชนิดนี้ที่ใหญ่ที่สุดและคึกคักที่สุดด้วย แต่ละร้านค้าจะตั้งตู้โชว์ไว้หน้าร้านขณะที่หลังร้านก็จะทำขนมไหว้พระจันทร์ กันอย่างชุลมุนวุ่นวายทีเดียว
       

       ในยุคแรก ๆ นั้นไส้ขนมมีเพียงไม่กี่ไส้ตามแบบเมืองจีนคือ ไส้ลูกบัว ไส้โหงวยิ้ง ไส้โอวเต่าซา( ไส้ถั่วดำ) ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีไส้ทุเรียนแต่มีอยู่ปีหนึ่งถือว่าคุณอาของอานันต์เป็นคน แรกที่ให้กำเนิดขนมเปี๊ยะไส้ทุเรียน สืบเนื่องจากมีคนนำทุเรียนกวนจากภาคใต้มาให้กิน แต่คุณอากลับมีความคิดว่าปกติคนไทยชอบกินทุเรียนมาก ถ้าเอาไปทำเป็นขนมไหว้พระจันทร์น่าจะอร่อย จึงทดลองทำขึ้นมาแล้วไปแจกพวกลูกค้าที่เล่นไพ่นกกระจอกให้ช่วยชิมหน่อย ปรากฏว่าทุกคนชมว่าอร่อยจึงเป็นเจ้าแรกที่ทำไส้ทุเรียนออกมาขาย
       ปรากฏว่าเมื่อนำขนมไส้ทุเรียนออกมาขายเป็นครั้งแรกนั้นขายดีมาก ๆ ขนาดลูกค้าแย่งกันซื้อจนเกือบจะตบดีกันทีเดียว ทางร้านจึงต้องขอจัดระเบียบด้วยการวางกฎให้ซื้อได้คนละ 5 กล่องเท่านั้น
      
       **“น้ำเชื่อม”สุดยอดเคล็ดวิชา**
       
ถ้าจะถามว่าขนมไหว้พระจันทร์ก้อนเล็ก ๆ นี้ ขั้นตอนไหนในการทำขนมให้อร่อยและยากที่สุดนั้น เชฟทุกคนจะตอบเหมือนกันคือ”น้ำเชื่อม”
       “น้ำเชื่อม”
ที่จะนำมาทำเป็นเปลือกสำหรับห่อขนมนั้นจะมีสูตรลับพิเศษที่คนจีนโบราณไม่ ค่อยจะยอมถ่ายทอดเคล็ดวิชานี้ให้แก่คนอื่นยกเว้นลูกหลานเท่านั้น เพราะน้ำเชื่อมที่ดีจะทำให้ขนมที่อบออกมาสีสวยงามสม่ำเสมอ สามารถปั้นแป้งให้บางจนเห็นไส้ข้างในชวนให้น่ารับประทานยิ่งนัก
       ส่วนผสมหลัก ๆ ของการทำน้ำเชื่อมนั้นมีน้ำตาลและน้ำนำไปเคี่ยวกับไฟประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นใส่ไข่ขาวและน้ำมะนาวเข้าไป เหตุผลที่ต้องใส่ส่วนผสมอีก 2 อย่างนั้นถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณโดยไข่ขาวจะช่วยฟอกสีของน้ำเชื่อมให้ ขาวและยังทำให้สิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำเชื่อมตกตะกอน ส่วนน้ำมะนาวจะทำให้น้ำเชื่อมไม่คืนตัวเป็นเกร็ดน้ำตาล
       สูตรนี้ถ้าจะให้อร่อยสุดยอดแล้วจะต้องทำแบบค้างปี คือต้มน้ำเชื่อมปีนี้แล้วเก็บเพื่อนำไปทำขนมในปีหน้า โดยน้ำเชื่อมนี้จะไม่บูดหรือเสียเลย
       “ ทางร้านจะทำน้ำเชื่อมแต่ละปีเสร็จแล้วจะเก็บใส่โอ่งมังกรสิบกว่าโองแล้วนำไป เก็บไว้ที่ชั้น 3 ของภัตตาคาร พออีกปีจึงจะนำมาทำขนม” เฮียฮ้อกล่าว
      
       **ลาวปั้นจีนกิน**
       
เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงซึ่งเป็นที่รู้กันในวงการ ทำขนมไหว้พระจันทร์ว่า แม้ขนมชนิดนี้จะนำสูตรมาจากประเทศจีน แต่กลุ่มคนที่ทำขนมไหว้พระจันทร์นี้เป็นกลับเป็นคนหมู่บ้านพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงใกล้เทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นว่ากันว่าในหมู่บ้านนี้เหลือเพียงคนแก่ และเด็กเท่านั้น เพราะหนุ่มสาวจำนวน 300 – 400 คนจะพากันเดินทางเข้ากรุงเทพฯกันหมดเพื่อไปทำขนม
       เหตุผลที่มาของปรากฏการณ์นี้เริ่มในยุคแรก ๆ ที่กก จีเหลาเริ่มทำขนมไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องใช้คนงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวเกือบ 100 คนมาช่วยทำขนมในช่วงเทศกาล และเริ่มแรกก็มีคนจากหมู่บ้านพิบูลมังสาหารมาช่วย จากนั้นเมื่อถึงวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี บรรดาคนหมู่บ้านนี้ก็จะรู้ว่าถึงเวลานัดหมายกันโดยไม่ต้องส่งจดหมายหรือ โทรศัพท์ไปบอกกล่าว บรรดาชาวบ้านกลุ่มนี้ก็จะรวมตัวกันเดินทางมารับจ้างทำขนมไหว้พระจันทร์ตาม ร้านต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
       

       “ ยุคแรกที่เราทำขนมไหว้พระจันทร์นั้นขายดีมาก ๆ ต้องใช้คนงานผู้หญิงกวางตุ้ง 40 – 50 คนมานั่งแกะเม็ดบัวโดยเฉพาะ ที่เหลือก็ใช้คนงานประจำอีก 50 – 60 คน แล้วก็ต้องเรียกคนงานพวกที่มาจากหมู่บ้านพิบูลมังสาหารมาช่วยอีก 60 กว่าคน รวมแล้วต้องใช้คนทำไม่ต่ำกว่า 200 คน สำหรับขนมเปี๊ยะ 4 แสนลูกต่อปี “ เฮียฮ้อกล่าว
      
       **“มือเคาะ” มือทอง**
       
ขนมไหว้พระจันทร์ทุกลูกนั้นไม่ว่าจะไส้อะไรหรือสูตรอร่อยแค่ไหน แต่ถ้า”คนเคาะ” ทำ หน้าตาของขนมออกมาไม่สวยก็ทำให้ขนมชิ้นนั้นไร้เสน่ห์ได้เช่นกัน ดังนั้นคนทำหน้าที่เคาะขนมจึงสำคัญมาก คือเป็นผู้ที่จะต้องนำขนมที่ห่อไส้แล้วเป็นก้อนกลม ๆ เหมือนลูกบอลนำมากดลงบนพิมพ์แล้วใช้วิธีการเคาะ 3 จังหวะคือซ้าย ขวาและกลาง จากนั้นคว่ำพิมพ์ลงขนมก็จะหลุดออกจากพิมพ์ออกมาเป็นลูกกลมหรือเหลี่ยมอย่าง สวยงาม
       ฟังดูอาจจะคิดว่าทำง่าย แต่ความจริงแล้วคนที่ทำหน้าที่เคาะขนมที่ชำนาญในยุคนี้แทบจะนับตัวได้เลย เพราะจะต้องใช้คนที่ชำนาญจนรู้จังหวะที่จะลงน้ำหนักมือให้เท่ากันไม่เช่น นั้นขนมจะเบี้ยวออกมาไม่สวยหรือทำให้ขนมชิ้นนั้นเสียไปเลย
       คนเคาะขนมนั้นจะได้ค่าตัวที่แพงกว่าทุกตำแหน่งอย่างปัจจุบันจ้างกัน ที่ราคา 500 – 600 บาทต่อวัน ดังนั้นใครที่มีความสามารถทางด้านนี้ก็จะถูกจองตัวผูกขาดจากร้านทำขนมเปี๊ยะ พระจันทร์และจะต้องทำงานหนักตลอดเทศกาล เพราะหลังจากนี้ไปแล้วแต่ละคนก็ต้องกลับไปทำนา เป็นมอเตอร์ไซน์รับจ้าง หรือไปรับจ้างทาสี เลี้ยงชีพรอไว้ปีหน้าจึงจะเดินทางมาตามเวลานัด
       แต่ปัจจุบันคนนิยมกินขนมไหว้พระจันทร์มากขึ้น ความต้องการในช่วงเทศกาลมีหลายหมื่นลูกทำให้บางรายนำเข้าเครื่องทำขนมไหว้ พระจันทร์สำเร็จรูป ที่ใช้แรงลมแทนการเคาะขนมออกจากพิมพ์ และสามารถผลิตได้ครั้งละ 8 ลูกจึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของลูกค้า
      
       

       **“พิมพ์ไม้” นิยายคลาสสิก**
       จะมีใครสังเกตบ้างไหมว่าขนมไหว้พระจันทร์ชิ้นสวย ๆ นั้นมีลวดลายอะไรและมีตัวหนังสือเขียนว่าอะไรบ้าง???
       บนหน้าขนมไหว้พระจันทร์นั้นนิยมทำเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ มังกร ยี่ห้อของร้าน เป็นต้น คนทำขนมรุ่นใหม่ ๆ จะไปหาซื้อพิมพ์เหล่านี้ได้ตามย่านพาหุรัดที่เป็นพิมพ์ไม้บ้าง พลาสติกบ้าง แต่ถ้าเป็นพิมพ์ขนมยุคเก่าดั้งเดิมนั้นจะต้องใช้พิมพ์ไม้เท่านั้นและที่ สำคัญจะต้องไปสั่งแกะสลักกันที่ประเทศจีน
       อนันต์ เล่าถึงความเป็นมาของพิมพ์ขนมว่าในยุคแรกนั้นทางภัตตาคารกกจีเหลาจะสั่งทำ พิมพ์ไม้มาจากฮ่องกง จนเมื่อประเทศไทยเปิดความสัมพันธ์กับประเทศจีนแล้วอนันต์จึงได้บุกไปที่มณฑล กวางเจาสืบเสาะจนพบตระกูลหนึ่งที่รับจ้างแกะสลักพิมพ์ไม้เพื่อใช้ทำขนมไหว้ พระจันทร์สืบทอดต่อกันมากว่า 3 ชั่วอายุคนแล้ว
       “มีเพียงร้านเดียวเท่านั้นตั้งอยู่ในเมือง พอได้พบและพูดคุยกันแล้วถึงได้รู้ว่าพิมพ์เก่า ๆ ของที่ร้านกกจีเหลาที่เราสั่งทำที่ฮ่องกงนั้นก็ส่งมาให้เขาแกะเช่นกัน “ อนันต์กล่าว
       พิมพ์ไม้แกะสลักของร้านนี้ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างยิ่งเพราะรุ่นปู่เขา จะเก็บไม้เนื้อแข็งเป็นชิ้น ๆ กว่าหมื่นชิ้น และไม้แต่ละชิ้นจะต้องเก็บเกือบ20ปีจึงจะนำมาใช้แกะได้เพราะไม้จะแข็งและไม่ มีการหดตัว โดยจะเก็บไม้มาเป็นรุ่น ๆ ตามอายุของไม้ เมื่อมีการว่าจ้างให้แกะก็จะใช้ไม้รุ่นที่เก็บนานที่สุดมาใช้
       ฝีมือและเคล็ดวิชาการแกะสลักของตระกูลนี้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเป็นการแกะสลักไม้ที่ไม่ธรรมดาเช่นกันคือแกะลึกเป็นหลุมลงไปและด้านใน จะแกะเป็นหน้าของขนมเปี๊ยะ ซึ่งจะต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ เช่นถ้าแกะไม่เสมอกันเวลาเคาะแป้งก็จะไม่หลุดออกจากพิมพ์ หรือถ้าแกะลายคมเกินไปทำให้ขนมมีขอบเวลาอบแล้วจะไหม้ เป็นต้น
       ปกติพิมพ์ไม้ที่ดีแต่ละอันแม้จะถูกใช้เคาะทั้งวันแต่จะมีอายุการใช้ งานเป็น 10 ปีเช่น กัน ซึ่งขณะนี้ทางร้านกกจีเหลายังเก็บพิมพ์ไม้รุ่นเก่าไว้จำนวนหนึ่ง บางอันเป็นพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีอายุกว่า 50 ปี ซึ่งในปัจจุบันคงจะหาไม่ได้อีกแล้วเพราะไม่มีไม้ขนาดใหญ่ให้ใช้อีกแล้ว
       

       **“บัวหิมะ” ชิ้นแรกของเมืองไทย**
       
ถ้าใครเป็นนักชิมขนมไหว้พระจันทร์คงจะเคยเห็นขนม ชนิดหนึ่งที่หน้าตาแปลกไปตรงที่ใช้แป้งขนมโก๋เป็นสีขาวและสีเขียวห่อไส้แทน แป้งสีน้ำตาล ซึ่งขนมนี้ที่เมืองจีนที่เรียกขานกันว่า “ บัวหิมะ”
       “บัวหิมะ”
เป็นขนมที่นิยมของคนฮ่องกงมาก สำหรับเมืองไทยนั้นรายแรกที่นำขนมเปี๊ยะบัวหิมะมาเผยแพร่ในเมืองไทยนั้นคือ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯในยุคของชวลิต ทั่งสัมพันธ์ เจ้าของโรงแรมฯที่ได้ชื่อว่าชอบเสาะหาแต่ของอร่อย ๆ มาไว้ในโรงแรม เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ฟูเก๋ง เชฟชาวฮ่องกงที่มาทำขนมประจำโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ได้นำสูตรขนมเปี๊ยะบัวหิมะจากฮ่องกงมาทำขายเป็นครั้งแรกที่โรงแรมแห่งนี้
       “ ก่อนหน้านั้นเราเป็นโรงแรมแห่งแรกที่ทำขนมไหว้พระจันทร์ออกมา และประมาณปี 2526 เราก็ทำบัวหิมะออกมาขายปรากฏว่าขายดีมาก ๆ เพราะแปลกและไม่มีใครทำมาก่อน ลูกค้ากินแล้วชอบบอกว่าเย็นชื่นใจดี “ ป้าณี-ภารุณี ปิ่นถาวรลักษณ์ เชฟขนมไหว้พระจันทร์ของโรงแรมฯกล่าว
       แม้ว่าปัจจุบันจะมีหลายรายที่ทำ”บัวหิมะ” ขึ้นมา แต่ก็ไม่มีใครทำแป้งที่ห่อได้เหนียวนุ่มและอร่อยได้เท่ากับเจ้าตำรับแบบโรง แรมแอมบาสซาเดอร์ บัวหิมะสูตรดั้งเดิมสมัยฟูเก๋งยังคุมอยู่นั้นจะมีแป้งสีขาวและสีเขียวจากใบ เตย แต่ปัจจุบันจะมีสีแดงที่ทำจากน้ำหวานสละมาเป็นอีกทางเลือกให้แก่ลูกค้า โดยป้าณีเล่าว่าก่อนจะถึงช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องเตรียมตัวประมาณ 2 เดือน และจะทำขนมไหว้พระจันทร์แบบสดใหม่ทุกวัน ขนมบัวหิมะจะมียอดขายดีที่สุด
      
       **S&P จุดประกายตลาด**
       
ยุคก่อนนั้นถ้าอยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์จะต้องรอ ให้ถึงเทศกาลเสียก่อนและต้องไปหาซื้อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งใหญ่ซึ่งจะ มีขนมยี่ห้อเก่าแก่ที่ล้วนแต่เป็นชื่อภาษาจีนทั้งนั้น เช่นกก จีเหลา( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกอกใจ) ไล้กี่ , ท่องกี่ , แต้เล่าจิ้นเส็ง เป็นต้น
       แต่เดี๋ยวนี้อยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์ไม่ยากเย็นอีกแล้ว ไปเดินตามห้างสรรพสินค้าก็จะมีซุ้มที่รวบรวมขนมไหว้พระจันทสารพัดยี่ห้อมา เรียงรายให้เลือกซื้อเลือกกินกันสะดวกสบาย ผู้ที่จุดประกายความเปลี่ยนแปลงนี้คงต้องยกให้ค่าย S&P
       และต้องยอมรับว่าค่ายS&P เป็นผู้สร้างตำนานขนมไหว้พระจันทร์หน้าใหม่ขึ้นมาเมื่อ 6 – 7 ปีก่อน เมื่อค่ายนี้หันมาเปลี่ยนโฉมขนมไหว้พระจันทจากสไตล์โฮมเมดแบบเดิม ๆ ให้กลายมาเป็นแบบแมสโปรดักส์ที่นำเครื่องมือมาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้ ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเปลี่ยนพฤติกรรมคนกินให้ซื้อขนมไหว้พระ จันทร์ไม่เพียงแต่ซื้อเพื่อนำไปไหว้ตามประเพณีเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นขนมที่ซื้อฝากผู้ใหญ่โดยใช้การออกแบบกล่องให้สวยงามเพื่อดึง ดูดจนถึงขนาดบางปีการแข่งขันเรื่องกล่องใส่ขนมเพื่อแย่งชิงลูกค้านั้นเข้ม ข้นดุเดือดยิ่งกว่ารสชาติของขนมเสียอีก
       จนถึงขณะนี้ขนมไหว้พระจันทร์มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 200 กว่าล้านบาท โดยใช้เวลาขายเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น มีคนนิยมลิ้มลองรสชาติหวานอร่อยของขนมนี้ตั้งแต่คนจีนรุ่นเก่า ลูกหลานคนจีนรุ่นใหม่ จนถึงหนุ่มสาวรุ่นใหม่ และมีผู้ที่โดดเข้ามาทำขนมไหว้พระจันททั้งรายเล็กรายใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 10 ราย
      
       **ขนมไหว้พระจันทสำหรับคนรุ่นใหม่**
       จนถึงวันนี้วัฒนธรรมของขนมไหว้พระจันทร์เริ่มถูกสั่นคลอนด้วยคนรุ่น ใหม่ที่เข้ามาจับธุรกิจนี้เพื่อปูฐานสินค้าเข้าสู่คนรุ่นใหม่ที่มีนิสัยต้อง การสัมผัสความแปลกใหม่ ไส้เดิม ๆ ที่เคยมีอยู่เพียง 3- 5 อย่างให้เลือกนั้นก็เริ่มมีไส้แปลก ๆ ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกมากขึ้น อย่างเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนนั้นกระแสชาเขียวเพื่อสุขภาพกำลังมาแรงก็มีหลายรายที่นำชาเขียวมาทำ เป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์ซึ่งก็ขายดิบขายดีเช่นกัน
       ส่วนเมื่อปีที่แล้วกระแสลูกพรุนเพื่อสุขภาพกำลังมาแรงก็มีหลายรายที่ หันมาทำไส้ลูกพรุน และที่แหวกแนวคงเป็นค่ายเชียงการีล่าที่คว้าสาหร่ายสไปรูไรน่าที่มีสรรพคุณ เพื่อสุขภาพมาทำเป็นไส้ขนมด้วย
       ธรรมนูญ สุภานุรัตน์ คนหนุ่มรุ่นใหม่เจ้าของขนมไหว้พระจันทร์ยี่ห้อร้านบ้านกอไผ่ เพิ่งจะเปิดตัวขนมไหว้พระจันทร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีจุดเด่นที่ฉีกแนวเดิมอย่างสิ้นเชิงคือ “ไส้ขนม” แปลกใหม่ที่จับตลาดทั้งคนรุ่นเก่าที่ห่วงใยสุขภาพ โดยมีไส้ที่แปลกแหวกแนวคือ ลูกบัวแปะก๋วย งาดำเม็ดแตง ชาเขียวญี่ปุ่น เกาลัดลูกพลับญี่ปุ่น ลำใยรากบัว ลิ้นจี่จักรพรรดิ์รากบัว ลูกพรุนบีทรูท ชาอู่หลง และไฮไลท์แบบอลังการคือไส้โสมตังกุย ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ที่นำมาเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อาทิ ม็อคค่าโอริโอ ช็อคโกแลตบราวนี่ กาแฟคาปูชิโน เป็นต้น
       สำหรับปีนี้ร้านบ้านกอไผ่นำเสนอรสใหม่ อาทิ ขิงหอมผสมน้ำผึ้ง , งาขาวแม็คคา , ทุเรียนก้านยาว เป็นต้น
       และแทบไม่น่าเชื่อว่าค่ายสตาร์บัคส์ กาแฟชื่อดังของอเมริกาก็ดีเดย์ชักธงรบเข้าสู่ตลาดขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ใน เมืองไทยเช่นกัน หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากที่ไต้หวันและฮ่องกงมาแล้ว
       “ สตาร์บัคส์เริ่มทำขนมไหว้พระจันทร์ครั้งแรกที่ไต้หวันและฮ่องกงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และไม่น่าเชื่อว่าจะขายดีมาก ๆ” สุมลพินทุ์ โชติกะพุกกะณะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์กล่าว
       ทั้งนี้ค่ายสตาร์บัคส์ในเมืองไทยได้เปิดตัวขนมเปี๊ยะไส้กาแฟเอสเพรส โซ่ โรส์ในราคาชิ้นละ 95 บาท โดยได้สูตรมาจากสตาร์บัคส์ที่ไต้หวัน และนำมาดัดแปลงให้เข้ากับลิ้นคนไทย โดยส่วนผสมหลักของไส้จะมีถั่วแมคคาเดเมีย เม็ดบัว และไข่แดงและที่ขาดไม่ได้คือกาแฟเอสเพรสโซ โรสท์ ที่เพิ่มกลิ่นหอมของรสกาแฟเข้าไป สำหรับปีนี้ค่ายสตาร์บั๊คมีไส้ใหม่มาเอาใจคอกาแฟด้วยไส้ทุเรียน
       ตำนานการเดินทางของขนมไหว้พระจันทร์ของเมืองไทยยังไม่จบ เพียงเท่านี้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณอยากที่จะรู้จักกับขนมนี้ให้มากขึ้นคงต้องลองชิมดูจะ ดีกว่า ส่วนจะเป็นยี่ห้อไหนบ้างนั้นแล้วแต่ใจของคุณเถอะ

       
       หมายเหตุ...บทความนี้เคยตีพิมพ์ในผู้จัดการรายวันเมื่อวันที่10 กันยายน 2547

No comments:

Post a Comment