Sunday, August 14, 2011

“น้ำพริก” ฝ่าวิกฤติ! ภูมิปัญญาทางเลือกยุคของแพง







เนื้อ หมูและราคาสินค้าบริโภคที่พุ่งสูงบ่งบอกถึงวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยอย่าง ชัดเจน แต่ในวิกฤติย่อมมีโอกาส เพราะเมื่อหันไปสำรวจตลาดพบว่าร้านขายน้ำพริกสดมีเพิ่มมากขึ้นในกรุงเทพฯ แม้ว่าราคาข้าวของจะพุ่งสูงแค่ไหน แต่ราคาน้ำพริกยังไม่ขยับตัวสูงขึ้นมากนัก ซึ่งในวิกฤติข้าวยากหมากแพง “น้ำพริก” ถือเป็นภูมิปัญญาตกทอดให้ลูกหลานได้รู้ซึ้งถึงคุณค่า และคุณประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

ผศ.พงษ์ ศักดิ์ ทรงพระนาม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า สำหรับในกรุงเทพฯ การเพิ่มขึ้นของร้านน้ำพริกสดมีมากอย่างเห็นได้ชัด เป็นผลมาจากการที่คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่เข้ามาทำงานมากขึ้น แต่ในทางกลับกันต่างจังหวัดหลายคนกลับบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นกว่าการทาน น้ำพริกเหมือนแต่ก่อน ซึ่งในภาวะวิกฤติที่ข้าวของแพง น้ำพริกเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างมาให้คนรุ่นหลังได้นำไปใช้ ได้อย่างดี อดีตน้ำพริกถือเป็นอาหารยามยาก หมายความถึง เป็นอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นานหรือพกไปขณะเดินทางไกลได้อย่างสะดวกนั่น

น้ำพริก สูตรแรก คือ พริกกะเกลือ โดยนำพริกป่นและเกลือผสมกันคลุกด้วยมะพร้าวขูดคั่ว สามารถพกไปกินได้ระหว่างเดินทางไกล เครื่องเคียงต่างๆ สามารถเด็ดผักได้ตามทางหรือหาปลาตามคลองหนองบึง และด้วยความที่หลายคนหันมารักษาสุขภาพมากขึ้นจึงทำให้น้ำพริกได้รับความนิยม โดยผู้บริโภคเริ่มนิยมร้านน้ำพริกที่ทำสดมากกว่าน้ำพริกที่บรรจุอยู่ใน กระปุกหรือกล่อง

น้ำพริกสดที่ขายตามท้องตลาดขายอยู่ที่ราคา 20 – 30 บาทต่อถุง ถ้ามอง 5 ปีย้อนหลังคนขายยังคงราคาเดิมไว้แม้สินค้าอื่นๆ จะราคาสูงขึ้น ด้วยความที่น้ำพริกใช้เนื้อสัตว์น้อยจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้ามองในราคาต้นทุนแล้วน้ำพริกหนึ่งครกจะตกอยู่ที่ราคา 5 – 7 บาท โดยราคาเครื่องเคียงเช่นผักหรือปลาทูและปลาย่างอาจผันผวนตามราคาตลาดในแต่ละ ช่วงบ้าง

สำหรับการทำน้ำพริกที่ผสมเนื้อสัตว์ในภาวะวิกฤติราคาแพง สามารถนำวัตถุดิบอื่นมาผสมแทนได้เช่น ถั่วประเภทต่างๆ ฟักทอง มัน ใบชะคราม เห็ด ข้าวกล้อง ข้าวสังข์หยด และโปรตีนเกษตร คุณค่าอาจแทนเนื้อหมูไม่ได้ แต่ในการกินผสมกับน้ำพริกให้ความรู้สึกไม่ต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีทำ

อย่าง น้ำพริกอ่องที่ต้องใช้เนื้อหมูมาก สามารถนำโปรตีนเกษตรมาทำแทนเนื้อหมูได้ โดยต้องหั่นโปรตีนเกษตรให้เป็นชิ้นเล็กเหมือนลูกเต๋าแล้วแช่น้ำไว้ 20 นาที ซึ่งพอนำขึ้นจากน้ำโปรตีนเกษตรจะหนืดๆ เหมือนเนื้อหมูและนำไปทำเป็นน้ำพริกอ่องได้ตามปกติ เช่นเดียวกับเต้าหู้แผ่นถ้าจะเอามาทำต้องหั่นเป็นชั้นเล็กๆ นำไปทอดแล้วนำมาปรุงเป็นน้ำพริกอ่อง

ขณะเดียวกันเครื่องเคียงอย่าง ผักต่างๆ ไม่ควรบริโภคผักที่เป็นพืชเศรษฐกิจ แต่ควรเน้นบริโภคผักริมรั้วและผักที่ออกตามฤดูกาล ซึ่งการปลูกผักริมรั้วคนที่มีเนื้อที่น้อยสามารถปลูกได้อย่างคนที่มีห้องพัก อยู่ในคอนโดสามารถปลูกในกระถางริมระเบียงได้อย่าง ดอกโสน ดอกแค ดอกขจร ต้นกระถิน โดยการปลูกต้องหมั่นเด็ดยอดเพื่อให้แตกยอดใหม่และลำต้นไม่สูงมาก ส่วนผักบุ้งสามารถปลูกในอ่างน้ำเล็กๆ ได้ถ้ามีพื้นที่เพียงพอ

“การ เลือกซื้ออาหารที่ออกตามฤดูกาลสำคัญอย่างมาก อย่างหน้าฝนช่วงนี้มะขามอ่อนออกมากเราก็สามารถนำมะขามเหล่านั้นมาทำน้ำพริก มะขาม ถ้าทานไม่หมดสามารถนำน้ำพริกมาทอดและเก็บไว้กินวันหลังได้ หลายคนยังมองว่าน้ำพริกบางอย่างมีกลิ่นแรงเช่น น้ำพริกกะปิ ความจริงแล้วคนโบราณมีวิธีการทำให้กะปิไม่เหม็นโดยต้องนำกะปิไปย่างให้สุก ก่อนทุกครั้ง ยิ่งคนสมัยใหม่ที่อยู่ในคอนโดยิ่งง่ายแค่เอากะปิเข้าไมโครเวฟให้เนื้อกะปิ ไม่แฉะ ขณะเดียวกันความร้อนจากการปิ้งจะทำให้แคลเซียมในเนื้อกะปิทำงานได้ดีขึ้น”

หาก มองถึงนัยยะของน้ำพริกที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาคจะเห็นคุณค่าต่างๆ ที่ซ่อนอยู่อย่าง ในภาคกลาง เด่นในเรื่อง น้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกหลน เครื่องเคียงจะเป็นปลาทู ปลาช่อนย่าง ปลาดุกฟู ปลาสลิดทอด ด้วยความที่ไม่ไกลจากทะเลมากนักโดยรสชาติจะเน้น 3 รส ส่วนผักต้มต่างๆ จะราดด้วยหัวกะทิเพื่อเพิ่มความมันซึ่งตามหลักโภชนาการจะทำให้วิตามินเอใน ผักทำงานได้ดียิ่งขึ้นเมื่อทาน

ภาคเหนือ มีน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม กินคู่กับหมูปิ้งและแคบหมู ด้วยความที่เป็นเมืองหนาวน้ำพริกจึงเน้นให้มีไขมันซึ่งจะทำให้ร่างกายอุ่น ขึ้น ส่วนภาคอีสาน มีคลองมากจึงจับปลามาทำน้ำพริกปลาร้า และน้ำพริกกุ้งจ่อม รสชาติเน้นเค็มเพราะทำให้เหงื่อออกง่ายในเขตเมืองร้อน ภาคใต้ ติดทะเลจึงมี น้ำพริกกุ้งเสียบ ไตปลา คู่ผักสดเน้นรสเค็มเผ็ดให้เหงื่ออกเพื่อดับความร้อน

หลายคนมองว่า การทานน้ำพริกแล้วทำให้ท้องเสีย จริงแล้วความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำน้ำพริกตั้งแต่การล้างพริก ถึงการตำน้ำพริก ซึ่งการจะให้คนที่ไม่เคยกินน้ำพริกหันมาทานในระยะแรกควรลดความเผ็ดลงในระดับ ที่ทานได้ ส่วนเครื่องเคียงไม่ควรให้ทานผักที่ขมๆ ควรให้ทานกับแตงกวาหรือผักบุ้งก่อน พอทานได้แล้วค่อยให้ลองผักที่มีรสขม

น้ำพริก ถือเป็นอีกเมนูที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพราะตอนนี้น้ำพริกหลายอย่างเริ่มหา ยากเต็มที เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาทำไม่มีขายในท้องตลาดเพราะไม่มีคนกิน การอนุรักษ์น้ำพริกต้องเริ่มจากครอบครัวตั้งแต่พ่อแม่กินเป็นตัวอย่างและ ถ่ายทอดสู่ลูก และพอลูกโตขึ้นจะถ่ายทอดเป็นช่วงๆ เมื่อครอบครัวทำแบบนี้น้ำพริกต่างๆ จะไม่สูญหายแถมยังช่วยให้ประหยัดเงินแม้ข้าวของจะแพงได้อีกด้วย

ถึง ยุคสมัยจะเปลี่ยนผ่านไปเช่นไร สิ่งที่บรรพบุรุษได้คิดขึ้นและสั่งสมด้วยประสบการณ์ย่อมเป็นอีกสิ่งที่ไม่ ควรมองข้าม เช่นเดียวกับน้ำพริกถือเป็นอาหารที่อยู่ท้องและทานได้ไม่ว่าประเทศไทยจะต้อง ผจญกับวิกฤติข้าวยากหมากแพงมากี่ยุคกี่สมัยก็ตาม

..............................

วิธีเลือกซื้อน้ำพริก

1. ดูที่ความสดภายนอกสีจะต้องไม่คล้ำจนเกินไป หรือถ้ามีมะเขือพวงหรือพริกเป็นส่วนประกอบต้องไม่มีสีคล้ำเข้ม ถ้ามีสีคล้ำแสดงว่าน้ำพริกได้ตำมานานแล้ว

2. ดมกลิ่นว่าเหม็นหืนหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นแสดงว่าทำไว้นานแล้ว โดยเฉพาะน้ำพริกแห้งที่บรรจุกล่องพิจารณาเป็นพิเศษ
ที่มา  http://www.dailynews.co.th/

No comments:

Post a Comment