ข้าวก่ำ (Purple Rice) เป็นข้าวพื้นเมืองของเอเชีย มีหลายชื่อ ชื่อที่ภาคกลางรู้จักกันดีคือ ข้าวเหนียวดำ (Black Sticky Rice) ภาคใต้เรียก เหนียวดำ บางที่ก็เรียกข้าวนิล ในประเทศจีนก็พบเช่นกันเรียกว่า ข้าวดำจีน (Chinese black rice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa ข้าว ก่ำนั้นนอกจากจะมีการนำมาบริโภคในรูปของอาหารแล้ว ยังมีการนำมาใช้ในรูปยารักษาโรคอีกด้วย โดยพบว่าในสมัยก่อนหากสตรีใดคลอดลูกและมีการตกเลือดมาก การรักษาก็คือการนำเอาต้นข้าวก่ำมาต้มเคี่ยวน้ำให้งวดลงเล็กน้อยแล้วให้รับ ประทาน | ||||
นอก จากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวไว้ในบทพระราชนิพนธ์ "ย่ำแดนมังกร" เมื่อปี 2528 ครั้งเสด็จฯเยี่ยมเมืองซีอานว่า ในประเทศจีนกำลังมีการวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งของข้าว พันธุ์นี้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าในประเทศจีนสมัยราช วงศ์หมิงได้มีการใช้ข้าวก่ำใช้บำรุงหยินของไต บำรุงม้ามและตับซึ่งในการแพทย์แผนจีนเชื่อว่าจะมีผลต่อระบบเลือดและการควบ คุมอารมณ์ของร่างกาย นอกจากนั้นยังพบว่าข้าวก่ำหรือข้าวดำจีนจะมีผลบำรุงเลือดและบำรุงสายตา และใช้เป็นอาหารต้านโรคเรื้อรัง บำรุงร่างกาย ต้านความชรา | ||||
เนื่องจากมีสารที่มี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดได้แก่ tocotrienols, ferulic acid, gamma oryzanol, และ phytosterols ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสลดไขมัน นอกจากนั้นยังเป็น แหล่งของธาตุเหล็กที่สำคัญ สามารถนำไปใช้ทดแทนการให้ธาตุเหล็กเพื่อ ลดปัญหาที่มักพบในเรื่องการให้ธาตุเหล็กแก้ผู้ป่วยที่ขาดเหล็ก ทั้งนี้เนื่องจากการให้ธาตุเหล็กทดแทนในลักษณะนั้นมักใช้ขนาดที่สูง และส่งผลกระทบให้มีการเพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้น และเกิดอันตรายต่อเซลล์ต่างๆของร่างกาย ซึ่งการบริโภค ข้าวก่ำจึงสามารถจะลดปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากในข้าวก่ำเองก็มีสารอื่นๆที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อยู่เป็นจำนวนมากดังที่กล่าวข้างต้น ล่าสุดกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) นำโดย "จินตนาภรณ์ วัฒนธร" กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำของข้าวก่ำของไทยพบว่า เมื่อ ให้หนูได้รับข้าวก่ำซึ่งมีปริมารสารประกอบในกลุ่มฟีนอลประมาณ 176.29±3.05 มิลลิกรัมของกรดแกลลิคต่อมิลลิกรัมข้าวกล่ำ ในขนาดต่างๆกันคือ 180, 360 และ 720 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว แล้วนำมาเหนี่ยวนำให้เกิดความจำบกพร่องเช่นเดียวกับที่พบในความจำบกพร่องใน ผู้สูงอายุ และในโรคสมองเสื่อมหนูเหล่านี้จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้และความจำน้อย กว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับข้าวก่ำ "หนู กลุ่มที่ได้รับข้าวก่ำนั้นจะมีความหนา แน่นของเซลล์ประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัสเพิ่มขึ้น โดยกลไกส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวก่ำ เนื่อง จากพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับข้าวก่ำนั้นจะมีดัชนีแสดงการทำลายของเนื้อเยื่อ จากอนุมูลอิสระในสมองบริเวณฮิปโปแคมปัสลดลงและมีการทำงานของเอนไซม์ต้าน อนุมูลอิสระบริเวณฮิปโปแคมปัสเพิ่มขึ้น ยิ่ง ไปกว่านั้นยังพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับข้าวก่ำจะมีการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้ สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำที่สำคัญตัวหนึ่งคืออเซ ทิลโคลีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสลดลง ดังนั้นจึงทำให้มีสารสื่อประสาทอเซทิลโคลีนเหลือเพิ่มขึ้นสามารถออกฤทธิ์ กระตุ้นการเรียนรู้และความจำได้เพิ่มขึ้น" ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์ |
No comments:
Post a Comment